ข้อมูลทั่วไป

โรงเรียนบ้านบ้านหนองบง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต เขต ๑

๑.๑ ข้อมูลทั่วไป

* ชื่อโรงเรียน บ้านหนองบง

* ที่ตั้ง หมู่ที่ ๒ ตำบลน้ำทูน อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย 42140

* สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต ๑

* e-mail noungbong@loei1.go.th

* เปิดสอนระดับชั้นก่อนประถมศึกษาถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

* เนื้อที่ ๗ ไร่ - งาน ๔๔ ตารางวา เขตพื้นที่บริการ ๑ หมู่บ้าน คือ - บ้านหนองบง หมู่ที่ ๒ ตำบลน้ำทูน อำเภอท่าลี่ จังหวัดเย

* สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑ โดยมีนายสุรเชษฐ์ ศรีสวัสดิ์ ศึกษาธิการอำเภอท่าลี่ มาทำพิธีเปิด และมีนายสด มงคลสิน เป็นครูใหญ่คนแรก โดยการก่อตั้งครั้งนี้อาศัยศาลาวัดเป็นอาคารเรียน ปัจจุบัน

* ผู้อำนวยการปัจจุบัน นายสมพร กตะศิลา ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองบง

วิสัยทัศน์

“พัฒนาผู้เรียนอย่างรอบด้าน ประสานความร่วมมือ ยึดถือความพอเพียง”

พันธกิจ

๑. จัดการศึกษาในเขตบริการของโรงเรียนให้ได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง

๒. พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีสติปัญญา มีความรู้ คู่คุณธรรม ตามคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์และอยู่

ในสังคมได้อย่างมีความสุข

๓. ส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักและเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอก

สถานศึกษา

๔. ส่งเสริมให้ครูได้รับการพัฒนาสู่มาตรฐานวิชาชีพ

๕. พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ โดยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา

เป้าหมาย

๑ .ส่งเสริมให้โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเน้นคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอัน

พึงประสงค์

๒. ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา

๓. ส่งเสริมกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียนมีสุนทรียภาพ มีจิตสาธารณะ มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตทีดี

๔. ส่งเสริมกิจกรรมมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะในการทำงานร่วมกัน

๕. พัฒนาบุคลากรทางการศึกษา

๖. ส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการศึกษา

๗. พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ

๘. พัฒนาระบบเครือข่ายโรงเรียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างความพร้อมให้แก่โรงเรียน

ปรัชญาของสถานศึกษา

ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นแก้วอันประเสริฐแห่งมนุษย์ทั้งหลาย

๑.๒ ข้อมูลบุคลากรของสถานศึกษา

๑) จำนวนบุคลากร

๒) วุฒิการศึกษาสูงสุดของบุคลากร

ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา ระดับปฐมวัย ปีการศึกษา ๒๕๖๒

๑. ผลการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย

ผลการประเมินพัฒนาการของเด็ก ตามหลักการประเมินพัฒนาการเด็กระดับปฐมวัย จากตาราง

สรุปว่า ดี

๒. ผลการประเมินมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัย

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพของเด็ก (ระดับคุณภาพ : ...........ดี.............)

๑. กระบวนการพัฒนา

๑. จัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการ ทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ผ่านกิจกรรมทั้ง ๖ กิจกรรม อย่างเป็นระบบ มีกระบวนการที่หลากหลาย ประเมินพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง

๒. ผลการดำเนินงาน

ผลการพัฒนาเด็กในด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคมและสติปัญญา นักเรียนมีพัฒนาการด้านร่างกาย แข็งแรง มีสุขนิสัยที่ดี และดูแลความปลอดภัยของตนเองได้โดยโรงเรียนจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย ให้เด็กได้ออกกำลังกายจากกิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ เกมกลางแจ้ง การละเล่นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ ทำให้เด็กมีความแข็งแรงทรงตัวได้ดี สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้คล่องแคล่ว ส่วนกล้ามเนื้อเล็ก ได้จัดกิจกรรมการวาดภาพ การเล่นเครื่องเล่นสัมผัส การร้อยลูกปัด การปั้น การตัด การฉีกปะกระดาษ จากกิจกรรมดังกล่าว ทำให้เด็กสามารถใช้มือและตาประสานสัมพันธ์ได้ดี ส่วนของสุขนิสัยและความปลอดภัยของตนเอง ได้จัดให้เด็กทำอย่างต่อเนื่อง คือ การแปรงฟัน การชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง การตรวจสุขภาพเด็กโดยเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตรวจสุขภาพในช่องปาก ให้เด็กได้ดูแลตนเอง ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร แปรงฟันทุกวันหลังอาหารกลางวัน ใช้ภาชนะของตนเองในการดื่มน้ำ ให้เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ กินผัก ผลไม้ เด็กจึงมีน้ำหนัก ส่วนสูง ได้ตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย เด็กรู้จักดูแลตนเองในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและระมัดระวังตนเองให้ปลอดภัยจากการเล่น จากบุคคลที่เด็กไม่คุ้นเคย รู้จักหลีกเลี่ยงต่อสิ่งที่อาจเกิดอันตรายต่อตนเอง

เด็กมีพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ ควบคุมและแสดงออกทางอารมณ์ได้ โดยเด็กมีอารมณ์ร่าเริงแจ่มใส แสดงออกทางอารมณ์ได้อย่างเหมาะสม กล้าพูดกล้าแสดงออก มีความมั่นใจ มีความสุขเมื่อให้ทำกิจกรรมทางด้านศิลปะ ดนตรี และการเคลื่อนไหว หรือการออกกำลังกาย มีความตั้งใจรู้จักอดทนรอคอยในขณะที่ครูจะเล่านิทานให้ฟังหรือกิจกรรมที่ต้องรอคอย เด็กมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ในการทำกิจวัตรประจำวัน มีการแบ่งปัน การจัดเก็บของเล่นของใช้ให้เป็นระเบียบ มีความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้สำเร็จด้วยตนเอง มีความซื่อสัตย์ไม่หยิบของผู้อื่นมาเป็นของตน อย่างเช่นเมื่อเจอเงินหรือสิ่งที่ไม่ใช่ของตนเองเด็กจะไม่เอาจะนำมามอบให้ครูเพื่อสืบหาเจ้าของต่อไป มีการบันทึกการทำความดีให้กับเด็ก

เด็กมีพัฒนาการด้านสังคม ช่วยเหลือตนเองและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เมื่อได้รับการมอบหมายให้ทำกิจกรรม เช่นการทำความสะอาดบริเวณโรงเรียนในเขตรับผิดชอบของตนเองเด็กจะต้องช่วยเหลือกันทำให้บริเวณโรงเรียน ห้องเรียนมีความสะอาด ให้ทุกคนมีส่วนร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ในการเล่นจะให้เด็กได้เล่นและทำกิจกรรมเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม เพื่อสร้างความรักให้เด็กรู้จักรักตนเองรักเพื่อน รู้จักการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม เด็กจะไม่แย่งของเล่นหรือทะเลาะกันในขณะที่เล่น ฝึกวินัยให้เด็กคำนึงถึงความประหยัด ฝึกให้รู้จักการอดออม โรงเรียนจัดกิจกรรมออมทรัพย์ให้เด็กได้นำเงินมาฝาก เด็กทุกคนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี มีมารยาทที่ดี รู้จักไหว้ พูดจาสุภาพ มีสัมมาคารวะกับผู้ใหญ่ จากกิจกรรมดังกล่าว เด็กสามารถเล่นและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีมีมารยาทที่ดีงามตามวัฒนธรรมไทย

เด็กมีพัฒนาการด้านสติปัญญา สื่อสารได้ มีทักษะการคิดพื้นฐาน และแสวงหาความรู้ได้ โดยครูจัดกิจกรรมตามตารางกิจกรรมประจำวันโดยบูรณาการ 6 กิจกรรมหลักให้เด็กได้สนทนา โต้ตอบ ขีดเขียน นับจำนวน จัดหมวดหมู่ การรู้ค่าของสิ่งต่างๆ เน้นทักษะการใช้ภาษา ทักษะทางคณิตศาสตร์และทักษะทางวิทยาศาสตร์ ตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสังเกต เปรียบเทียบ การรู้จักตั้งคำถามการใช้เหตุผล ในการแก้ปัญหา เพื่อนำมาซึ่งการสร้างความคิดรวบยอดในการเรียนรู้ และมีโครงการที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาเช่น โครงการทัศนศึกษาแหล่งเรียนรู้ โครงการบ้านวิทยาศาสตร์น้อย รวมทั้งการสร้างสรรค์ผลงานตามความคิดและจินตนาการ เช่นงานศิลปะ การเคลื่อนไหวท่าทาง การเล่นอิสระ เป็นต้น มีการใช้สื่อเทคโนโลยี ค้นหาทางอินเตอร์เน็ต การใช้สื่อมัลติมีเดียมาเป็นสื่อในการเล่นเกมการศึกษา ในการทดลองใช้ แม่เหล็ก แว่นขยาย หลอดหยด ช้อนตวง เป็นต้น มาเป็นเครื่องมือในการสืบเสาะหาความรู้ของเด็ก บางครั้งให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมจัดหาสื่อมาใช้ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กอีกด้วย

๓. จุดเด่น

๑. นักเรียนมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา บรรลุตามเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนด

๒. มีการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรและมีแผนงาน โครงการ กิจกรรมเสริมพัฒนาการเด็กอย่างเป็นระบบต่อเนื่อง

๓. ผู้ปกครองและชุมชน ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการพัฒนาเด็กอย่างต่อเนื่อง

๔. จุดควรพัฒนา

๑. ครูผู้สอนไม่จบการศึกษาระดับปฐมวัย

๒. ครูผู้สอนไม่ครบชั้นเรียน

๓. สื่ออุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

๕. แผนพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น

. โครงการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา

๒. โครงการพัฒนาการใช้สื่อ เทคโนโลยี สู่ห้องเรียน

๓. ส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และนำไปใช้จริง

๔. จัดหาสื่อและอุปกรณ์การเรียนให้เพียงพอต่อความต้องการ จัดกิจกรรมพัฒนาเด็กอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง

๕. พัฒนาบุคลากรที่สอนระดับชั้นปฐมวัย โดยการเข้าร่วมอบรมสัมมนา เพื่อพัฒนาตนเองในด้านการสอนระดับปฐมวัย

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ (ระดับคุณภาพ : ……ดี………)

๑. กระบวนการพัฒนา

๑) จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาคลอบคลุมพัฒนาการทั้ง ๔ ด้าน สอดคล้องกับบริบทของท้องถิ่น เน้นการเรียนเรียนรู้ผ่านการเล่น ตอบสนองความต้องการและความแตกต่างของเด็ก และสอดคล้องกับวิถีชีวิตของครอบครัวและชุมชน

๒) จัดครูให้เหมาะสมกับภารกิจการเรียนการสอนในระดับปฐมวัยที่ผ่านการอบรม การจัดการเรียนรู้ระดับปฐมวัย

๓) พัฒนาครูและบุคลาการทางการศึกษา โดยการเข้าร่วมประชุม อบรม ให้มีความรู้ความสามารถในการออกแบบการสอน มีทักษะในการจัดประสบการณ์และประเมินพัฒนาการเด็ก การสังเกตและประเมินพัฒนาการเด็กเป็นรายบุคคล มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็ก มีการบันทึกพัฒนาการ และจัดทำธุรการชั้นเรียนเป็นปัจจุบันและต่อเนื่อง

๔) จัดสภาพแวดล้อมภายในห้องเรียนและนอกห้องเรียนโดยคำนึงถึงความปลอดภัย โรงเรียนจัดห้องน้ำห้องส้วมไว้ติดกับห้องเรียน สำอาดและพียงพอกับนักเรียน จัดมุมเสริมประสบการณ์หลากหลาย จัดหาสื่อการเรียนการสอนตามกำลังของสถานศึกษา จัดหาสนามเด็กเล่นกลางแจ้งเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายของเด็ก

๕) โรงเรียนจัดหาสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการจัดประสบการณ์สำหรับครู โดยจัดให้ห้องเรียนอนุบาลมีคอมพิวเตอร์ และโทรทัศน์ สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ และโรงเรียนมีห้องคอมพิวเตอร์ไว้บริการนักเรียน จำนวน 10 เครื่อง ซึ่งเพียงพอต่อนักเรียนที่เข้าใช้บริการ

๖ ) สถานศึกษากำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาระดับปฐมวัยและอัตลักษณ์ที่สถานศึกษากำหนด มีการประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพภายในอย่างเป็นระบบ มีการนิเทศภายในและจากภายนอก อย่างน้อยปีการศึกษาละ 2 ครั้ง มีการบันทึกการนิเทศ

๒. ผลการดำเนินงาน

๑) โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัยและบริบทท้องถิ่น

๒) ครูได้รับการอบรม ส่งเสริมให้ครูมีความเชี่ยวชาญด้านการจัดประสบการณ์ที่ส่งผลต่อคุณภาพเด็กเป็นรายบุคคล

๓) จัดสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกให้น่าอยู่น่าเรียน และปลอดภัยสำหรับนักเรียน

๔ ) มีสื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับนักเรียน

๕) นักเรียนได้รับบริการทางสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษา

๓. จุดเด่น

๑. โรงเรียนสมารถจัดสภาพแวดล้อมได้อย่างปลอดภัยให้กับผู้เรียน และมีสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ สนับสนุนการจัดประสบการณ์เหมาะสมกับบริบทของสถานศึกษาและชุมชน

๒. มีระบบบริหารที่เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วม และได้รับความร่วมมือจากผู้ปกครองและชุมชนเป็นอย่างดี และได้รับการยอมรับจากชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

๔. จุดควรพัฒนา

๑. การวิเคราะห์และออกแบบการจัดประสบการณ์ตามหลักสูตรสถานศึกษา

๒. ขาดสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย การจัดมุมประสบการณ์

มาตรฐานที่ 3 การจัดประสบการณ์ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ (ระดับคุณภาพ : ………ดี……….)

๑. กระบวนการพัฒนา

๑) ครูรู้จักเด็กเป็นรายบุคคล มีการวิเคราะห์เด็กเป็นรายบุคคล ออกเยี่ยมบ้านนักเรียนครบทุกคน จัดกิจกรรมให้เด็กได้รับประสบการณ์โดยตรง จัดกิจกรรมเรียนรู้ที่เน้นให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้เล่นและลงมือกระทำผ่านประสารทสัมผัส จัดบรรยากาศในชั้นเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ใช้สื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย และมีการประเมินผลพัฒนาการที่หลาหลายและเป็นระบบ

๒ ) ครูจัดทำแผนประสบการณ์ จากการวิเคราะห์มาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในหลักสูตร โดยมีกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กครบทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้างสังคม และด้านสติปัญญา ไม่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว

๓ ) ครูจัดประสบการณ์ จัดกิจกรรมที่หลากหลาย ให้เด็กสามารถเลือกทำกิจกรรมอย่างอิสระ ตามความต้องการ ความสนใจ ความสามารถ ตอบสนองต่อวิธีการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล

๔ ) พานักเรียนไปศึกษาแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่หลากหลาย ให้เด็กได้เรียนรู้ ลงมือทำเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง

๕ ) ครูจัดห้องเรียนให้สะอาด อากาศถ่ายเท ปลอดภัย มีพื้นที่แสดงผลงานเด็ก จัดพื้นที่สำหรับมุมประสบการณ์และจัดกิจกรรมให้เด็กมีส่วนร่วม ในห้องจัดป้ายนิเทศต่างๆ และใช้สื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับวัย

๒. ผลการดำเนินงาน

๑) ครูมีแผนการจัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการทางด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม ด้านสติปัญญา

๒) จัดประสบการณ์ที่ส่งเสริมให้เด็กผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรง เล่น และปฏิบัติกิจกรรมอย่างอิสระตามความสนใจ ตามความต้องการ ส่งผลให้นักเรียนมีพัฒนาการครบทั้ง ๔ ด้าน

๓ ) ห้องเรียนมีบรรยากาศที่น่าอยู่น่าเรียน สะอาด อากาศถ่ายเท มีพื้นที่แสดงผลงานนักเรียน มีป้ายนิเทศส่งเสริมการเรียนรู้

๔ ) มีการประเมินพัฒนาการเด็กตามสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย มีแบบประเมินพัฒนาการอย่างเป็นระบบ

๓. จุดเด่น

๑. ครูและนักเรียนและผู้ปกครองรู้จักคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ทำให้ครูทราบปัญหาและเด็กแต่ละคนเป็นอย่างไร ทำให้จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการให้เด็กแต่ละบุคคลได้ตามความเหมาะสม และสามารถสื่อสารกับผู้ปกครองและร่วมมือกันในการพัฒนาเด็กเป็นอย่างดี

๒. ห้องเรียนจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ สะอาด อากาศถ่ายเท และมีสื่อเทคโนโลยี

๔. จุดควรพัฒนา

๑. เพิ่มสื่อการสอนเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้เพียงพอต่อความต้องการ หลากหลาย

๒. ครูไม่ครบชั้น ครูผู้สอนไม่ตรงกับวิชาเอก

๕. แผนพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น

๑. ระดมทุนทรัพย์เพื่อจัดหางบประมาณจัดหาสื่อของเล่นที่ส่งเสริมพัฒนาการให้เพียงพอกับเด็ก และจัดมุมประสบการณ์ให้หลากหลาย

๒. ส่งเสริมบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในด้านการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัยโดยการอบรมสัมมนา ศึกษาดูงาน

๓. วิเคราะห์หลักสูตร จัดทำแผนการสอน ที่ส่งเสริมพัฒนาการเด็กทุกด้าน ประเมินพัฒนาการหลากหลาย และมีการนิเทศติดตาม

๓. ผลงานดีเด่นระดับปฐมวัย

ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา ๒๕๖๒

๑) ร้อยละของนักเรียนที่มีเกรดเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละรายวิชาในระดับ ๓ ขึ้นไป

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ปีการศึกษา ๒๕๖๒

๒) ร้อยละของนักเรียนที่มีผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และเขียน

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ปีการศึกษา ๒๕๖๒

๓) ร้อยละของนักเรียนที่มีผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในระดับดีขึ้นไป

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ปีการศึกษา ๒๕๖๒

ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)

ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

๑) ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา ๒๕๖๒

๒) การเปรียบเทียบผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET)

ปีการศึกษา ๒๕๖๑– ๒๕๖๒

ผลการประเมินมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพผู้เรียน (ระดับคุณภาพ .........ดี....................)

๑. กระบวนการพัฒนา

๑) โรงเรียนจัดทำหลักสูตร วิเคราะห์หลักสูตร นำไปสู่แผนการสอนทุกชั้นเรียน และมีการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทสถานศึกษาและท้องถิ่น เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพตามที่มาตรฐาน เป้าหมายของสถานศึกษา

๒) โรงเรียนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านระบบทางไกลดาวเทียม เนื่องจากครูสอนไม่ครบชั้น สอนในรายวิชาที่ครูประจำชั้นไม่ถนัด ครูมีการเตรียมการสอน ใบงานอุปกรณ์สื่อต่างๆให้กับผู้เรียน และสรุปองค์ความรู้เมื่อจบชั่วโมง

๓ ) เน้นผู้เรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียนโดยเฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ เน้นการอ่านแจกลูกสะกดคำแบบโบราณ จัดกิจกรรมส่งเสริมรักการอ่าน จัดมุมหนังสืออ่านนอกเวลาในห้องเรียน และฝึกอ่านคำพื้นฐานทุกระดับชั้น

๔ ) ครูวิเคราะห์เด็กรายบุคคล เพื่อทราบปัญหาการอ่าน การเขียนของนักเรียนและแก้ไขให้ตรงจุด ไม่ปล่อยผ่าน จัดกิจกรรมหรือสอนซ่อมเสริมนักเรียนที่มีปัญหา โดยคำนึงถึงความสามารถนักเรียนแต่ละบุคคล มีการประเมินผลพัฒนาการด้านการอ่าน การเขียน การสื่อสาร อย่างต่อเนื่อง

๕ ) จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถในการวิเคราะห์ คิดคำนวณ คิดอย่างมีวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหา ผ่านกิจกรรมในชั้นเรียน และกิจกรรมกลุ่มในชั่วโมงลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ และในรูปแบบโครงงาน กิจกรรมต่างๆ โดยเน้นให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์มาใช่ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ

๖ ) จัดกิจกรรมแนะแนวบูรณาการในทุกสาระการเรียนรู้ ปลูกฝังเจตคติที่ดีพร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นสูงขึ้น

๗ ) โรงเรียนได้เน้นการปลูกฝังผู้เรียนด้านคุณธรรม จริยธรรม การเคารพกฎกติกา จิตสำนึกของนักเรียน รู้จักเสียสละ มีจิตอาสาในสังคม มีความรับผิดชอบ มีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าความเป็นไทย และอนุรักษ์ธรรมชาติ ยอมรับความคิดเห็นผู้อื่น เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น มีสุขภาพกายสุขภาพจิต อารมณ์ สังคม และแสดงออกอย่างเหมาะสมตามวัย โดยปลูกฝังผ่านทุกกิจกรรมทุกสาระ เช่น กิจกรรมหน้าเสาธง กิจกรรมชุมนุม กิจกรรมทัศนศึกษา กิจกรรมทำความสะอาดเขตรับผิดชอบ กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ จัดกิจกรรมเข้าค่ายธรรมมะ นำนักเรียนร่วมกิจกรรมโครงการปลูกป่ากับชุมชนและหน่วยงานอื่นที่จัดกิจกรรมในชุมชน ร่วมโครงการจิตอาสาทำความสะอาดหมู่บ้านและที่สาธารณะกับชุมชน

๘ ) มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีไทย โดยการนำนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และร่วมกิจกรรมงานประเพณีต่างๆของชุมชน เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักและลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นการสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีไทย

๙ ) ครูสร้างสื่อ นวัตกรรม การเรียนการสอน ทุกชั้นเรียน และนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน มีทะเบียนการผลิตสื่อ

๒. ผลการดำเนินงาน

๑) ผู้เรียนมีความสามารถในการอ่าน ในการเขียน การสื่อสาร และคิดคำนวณตามเป้าหมายที่สถานศึกษา กำหนด

- นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ มีผลการประเมินความสามารถด้านการอ่านออกของผู้เรียน

( Reading Test : RT ) ผลการประเมินได้ระดับ ดีมาก

๒ ) นักเรียนมีความสามารถคิดวิเคราะห์ คิดคำนวณ ได้ดีขึ้น เห็นได้จากผลสอบ O – NET

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ผลสอบนักเรียนในวิชาคณิตศาสตร์ เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา ๒๕๖๑ มีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น

๑๒.๕๒

๓ ) นักเรียนมีความสามารถในการรวบรวมความรู้ได้ทั้งด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงองค์ความรู้ และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ซึ่งโรงเรียนบ้านหนองบงได้เข้าแข่งขันกิจกรรมแข่งขันศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่ ๖๙ ดังนี้ และได้รับรางวัลดังนี้

๓.๑ รางวัลเหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขันการสร้างการ์ตูนด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์กราฟิก ระดับชั้น ป.๑ – ป.๓ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

๓.๒ รางวัลเหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขันเครื่องร่อน ประเภทร่อนนานยิงยาง ระดับชั้น ป. ๔ – ป.๖ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

๓.๓ รางวัลเหรียญทอง กิจกรรมการแข่งขันสร้างสรรค์ภาพด้วยการปะติด ระดับชั้น ป.๑ – ป.๓ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

๓.๔ รางวัลเหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับที่ ๒ กิจกรรมการแข่งขันสร้างสรรค์ภาพด้วยการปะติด ระดับชั้น ป.๔ – ป.๖ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

๓.๕ เหรียญทอง รองชนะเลิศอันดับที่ ๒ กิจกรรมการแข่งเดี่ยวขลุ่ยพียงออ ระดับชั้น ป.๑ – ป. ๖ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

๓.๖ เหรียญทอง ชนะเลิศ กิจกรรมการแข่งขันต่อคำศัพท์ภาษาไทย ( คำคมเดิม )

ระดับชั้น ป.๔ – ป.๖ ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

๓.๗ เหรียญเงิน กิจกรรมการแข่งขันต่อคำศัพท์ภาษาไทย ( คำคมเดิม )

ระดับชั้น ป.๔ – ป.๖ ระดับประเทศ

๔ ) นักเรียนมีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเองและสังคมด้านการเรียนรู้ นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูล ความรู้จากอินเตอร์เน็ทได้ทุกคน

๕ ) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีความก้าวหน้าในผลการทดสอบระดับชาติ เพิ่มขึ้นจากปีการศึกษาปีที่ 2561

๖ ) นักเรียนมีพฤติกรรมที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎกติกาของโรงเรียนและสังคม มีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ มีสุขภาพจิต อารมณ์ และสังคม และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข

๗ ) นักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ปีการศึกษา ๒๕๖๒ ศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้นทุกคน คิดเป็น ๑๐๐ %

๓. จุดเด่น

๑. นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตอาสา รับผิดชอบหน้าที่ของตนเองได้เป็นอย่างดี มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง สุขภาพจิตดี อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข นักเรียนมีทักษะชีวิตสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

๔. จุดควรพัฒนา

๑ ) ผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาอังกฤษ และวิชาวิทยาศาสตร์ ต้องพัฒนาให้สูงยิ่งขึ้น

๒ ) การจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นยกระดับผลสัมฤทธิ์ ยังขาดการปฏิบัติที่ต่อเนื่อง จริงจัง การยกระดับผลสัมฤทธิ์แต่ละกลุ่มสาระประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง นักเรียนส่วนใหญ่ยังต้องได้รับการพัฒนาต่อไป ผลสัมฤทธิ์ระดับชาติของนักเรียนมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงพัฒนาขึ้นโดยรวม แต่ไม่ผ่านเกณฑ์ในบางกลุ่มสาระการเรียนรู้ จึงต้องมุ่งเน้นพัฒนาต่อไป

จัดกิจกรรมด้านการอ่าน การเขียน คำนวณให้กับนักเรียนเรียนร่วม เปรียบเทียบความก้าวหน้าและการพัฒนาของนักเรียนเป็นรายบุคคล

๓ ) โรงเรียนควรสนับสนุนให้ครูและบุคลากรได้พัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพอยู่ตลอดเวลา เพื่อครูจะได้นำความรู้ที่ได้ไปปรับปรุงและประยุกต์ใช้ในการจัดประสบการณ์ การประเมิน ให้สอดคล้องและพัฒนาผู้เรียนได้เต็มศักยภาพ

๔ ) จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมและสร้างความมั่นใจให้กับนักเรียน ให้นักเรียนได้แสดงออก ในเรื่องต่างๆ

๕. แผนพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น

๑) พัฒนาให้นักเรียนมีทักษะในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณเป็นไปตามเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดในแต่ระดับชั้น

๒ ) พัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการคิดจำแนก แยกแยะ ใคร่ครวญไตร่ตรอง พิจารณาอย่างรอบคอบโดยใช้เหตุผลประกอบการตัดสินใจ มีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล

๓ ) พัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการรวบรวมความรู้ได้ทั้งด้วยตนเองและการทำงานเป็นทีม เชื่อมโยงองค์ความรู้ และประสบการณ์มาใช้ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ

๔ ) พัฒนาให้นักเรียน มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อพัฒนาตนเอง และสังคมในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน อย่างสร้างสรรค์ และมีคุณธรรม

๕ ) พัฒนาให้นักเรียน มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาจากพื้นฐานเดิมในด้านความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ กระบวนการต่าง ๆ รวมทั้ง

๖ ) พัฒนาให้นักเรียนมีความก้าวหน้าในผลการทดสอบระดับชาติ มีความรู้ ทักษะพื้นฐานในการจัดการเจตคติที่ดีพร้อมที่จะศึกษาต่อในระดับชั้นที่สูงขึ้น มีพฤติกรรมเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรม เคารพในกฎกติกา

๗ ) พัฒนาให้นักเรียนมีค่านิยมและจิตสำนึกตามที่สถานศึกษามีความภูมิใจในท้องถิ่น เห็นคุณค่าของความเป็นไทย มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยรวมทั้งภูมิปัญญาไทย

๘ ) พัฒนาให้นักเรียน มีการรักษาสุขภาพกาย สุขภาพจิต อารมณ์ และสังคม แสดงออกอย่างเหมาะสมในแต่ละช่วงวัย

มาตรฐานที่ ๒ กระบวนการบริหารและการจัดการ (ระดับคุณภาพ .............ดี.................)

๑. กระบวนการพัฒนา

๑) โรงเรียนกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่สถานศึกษากำหนดชัดเจน สอดคล้องกับบริบทสถานศึกษา และความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น

๒) สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบทั้งในส่วนวางแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการจัดทำแผนปฏิบัติเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา มีการติดตามตรวจสอบประเมินผลและปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง มีการบริหารอัตรากำลัง ทรัพยากรทางการศึกษา และระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน มีการเยี่ยมบ้านนักเรียน และคัดกรองนักเรียนทุกคน มีระบบนิเทศภายใน อย่างน้อยภาคเรียนละ ๑ ครั้ง และนำข้อมูลไปพัฒนา บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีส่วนร่วมวางแผน ปรับปรุง และพัฒนา มีส่วนรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษา

๓ ) สถานศึกษามีการพัฒนาหลักสูตร โดยเน้นคุณภาพผู้เรียนทางวิชาชีพ เน้นผู้เรียนรอบด้าน เชื่อมโยงวิถีชีวิตจริง

๔ ) สถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาครู บุคลากร ให้มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ ด้วยการอบรม ศึกษาดูงาน

๕ ) สถานศึกษาจัดสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน ให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ ให้น่าอยู่น่าเรียน และมีความปลอดภัยกับนักเรียน

๖ ) สถานศึกษาจัดหาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหาร จัดห้องคอมพิวเตอร์ไว้ให้นักเรียนใช้บริการเพื่อสืบค้นข้อมูลสาระความรู้ เพียงพอต่อจำนวนนักเรียน

๒. ผลการดำเนินงาน

๑) สถานศึกษามีหลักสูตรที่กำหนดเป้าหมาย พันธกิจ วิสัยทัศน์ที่ชัดเจน สอดคล้องกับบริบทสถานศึกษา และความต้องการของชุมชน ท้องถิ่น นโยบายรัฐบาล แผนการศึกษาแห่งชาติ เป็นไปได้ในการปฏิบัติ

๒) สถานศึกษามีการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบ มีการนิเทศภายในและรับการนิเทศภายนอก และนำผลการนิเทศมาปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการศึกษา อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

๓ ) นักเรียนได้รับการเยี่ยมบ้านและคัดกรองระบบดูแลนักเรียน ทุกคน

๔ ) ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาศักยภาพ ให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ

๕ ) สถานศึกษามีสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกห้องเรียน เอื้อต่อการเรียนรู้ และมีความปลอดภัย

๖ ) สถานศึกษามีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มีห้องคอมพิวเตอร์และระบบอินเตอร์เน็ท ไว้บริการเพียงพอกับจำนวนนักเรียน

๓. จุดเด่น

๑ ) สถานศึกษามีสถานที่สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก ให้น่าอยู่น่าเรียน มีความสะอาด ปลอดภัยกับผู้เรียน

๒ ) สถานศึกษามีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่พร้อมใช้งานและพียงพอต่อจำนวนนักเรียน

๔. จุดควรพัฒนา

โรงเรียนควรจัดให้มีห้องปฏิบัติการห้องวิทยาศาสตร์ และห้องสมุด ให้เหมาะสมต่อการจัดการเรียนรู้มีการนิเทศ ติดตาม ที่ชัดเจน

๕. แผนพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น

๑ ) มีโครงการการบริหารจัดการเกี่ยวกับงานวิชาการ การพัฒนาหลักสูตร

๒ ) กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้าน

๓ ) โครงการจัดการเรียนการสอนนักเรียนเรียนรวม

๔ ) โครงการพัฒนาครูพัฒนาครูสู่ครูมืออาชีพ

๕ ) โครงการจัดสภาพแวดล้อมให้เป็นแหล่งเรียนรู้

มาตรฐานที่ ๓ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (ระดับคุณภาพ .....ดี.....)

๑. กระบวนการพัฒนา

ครูผู้สอนทุกคนได้ทำการศึกษา วิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัดของกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่สอนเพื่อนำไปกำหนดโครงการสอน จัดทำหน่วยการเรียนรู้ สู่การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ของแต่ละรายวิชา เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ครบทุกมาตรฐานและตัวชี้วัดตามที่หลักสูตรกำหนด เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะ แสดงออก แสดงความคิดเห็น สรุปองค์ความรู้ นำเสนอผลงานและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้ โดยมีโครงการเรียนรู้ เรียนปฏิบัติ เรียนคิดแบบวิทยาศาสตร์ มาสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง

ครูผู้สอนทุกคนผลิตสื่อการเรียนรู้ ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อสร้างโอกาสให้นักเรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย โดยมีโครงการศึกษาแหล่งเรียนรู้ โครงการส่งเสริมการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น และโครงการส่งเสริมให้นักเรียนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

ครูผู้สอนมีการบริหารจัดการชั้นเรียนโดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ครูแสดงพฤติกรรม คำพูดที่เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียน ให้นักเรียนรักครู ครูรักนักเรียน และนักเรียนรักนักเรียน นักเรียนรักที่จะเรียนรู้ สามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

ครูทุกคนมีการตรวจสอบและประเมินคุณภาพการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มีการใช้เครื่องมือ วิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสมกับมาตรฐานและตัวชี้วัดในการจัดการเรียนรู้ และมีการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนเพื่อนักเรียนนำไปพัฒนาการเรียนรู้ของตนเอง

โรงเรียนมีการจัดกิจกรรม PLC ครูผู้สอนเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์รวมทั้งให้ข้อมูลป้อนกลับเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้

๒. ผลการดำเนินงาน

๑) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามมาตรฐานการเรียนรู้ ตัวชี้วัดของหลักสูตรสถานศึกษาที่เน้นผู้เรียนได้เรียนรู้โดยผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง ครูมีแผนการเรียนรู้ที่สามารถนำไปจัดกิจกรรมได้จริง ผู้เรียนได้รับการฝึกทักษะ จัดกิจกรรมเชิงบวก เด็กรักที่จะเรียนรู้ และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข แสดงออกแสดงความคิดเห็น นำเสนอผลงานและความสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้

๒ ) ครูผลิตสื่อ และใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และใช้แหล่งเรียนรู้ รวมทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ และเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากสื่อที่หลากหลาย นักเรียนได้รับการพัฒนาอย่างเต็มศักยภาพ

๓ ) ครูผู้สอนตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนโดยใช้เครื่องมือและวิธีการวัดและประเมินผลที่เหมาะสมกับเป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ และให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน

๔ ) ครูผู้สอนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ PLC ให้ข้อมูล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สรุปปัญหาที่พบ และระดมความคิดเห็น ร่วมกันหาทางแก้ไข พัฒนาผู้เรียน ปรับปรุงการเรียนการสอน

๓. จุดเด่น

๑. ครูผู้สอนมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อยู่เสมอ เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้

๒. เด็กรักที่จะเรียน และเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข

๔. จุดควรพัฒนา

ควรนำภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้นักเรียนได้เรียนรู้ และการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่นักเรียนทันทีเพื่อนักเรียนนำไปใช้พัฒนาตนเอง

๕. แผนพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานที่สูงขึ้น

๑ ) โครงการปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา

๒ ) โครงการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน

๓ ) โครงการพัฒนาการใช้สื่อ เทคโนโลยี สู่ห้องเรียน

๔ ) โครงการส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้และนำไปใช้จริง

๕ ) กิจกรรมสำหรับนักเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ/นักเรียนเรียนรวมให้นักเรียนมีความรู้สูงขึ้นตามระดับชั้น